โอละพ่อ ปลากุเล่าตันหยงเป่าว์ปลอม ชาวบ้าน 100 คน ยันคนตันหยงเป่าว์ไม่มีใครทำประมงปลากุเล่า

โอละพ่อ ! ปลากุเล่าตันหยงเป่าว์ปลอม ชาวบ้าน100 คน ยันคนตันหยงเป่าว์ไม่มีใครทำประมงปลากุเล่า

ริมหาดบ้านตันหยงเป่าว์ หมู่ที่ 4 อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ตัวแทนชาวบ้าน กว่า 50 คน รวมกลุ่มหารือแนวทางแก้ปัญหา กรณี งบประมาณ จากหน่วยงานภาครัฐลงพื้นที่ แต่ไม่ถึงชุมชน กว่า 3 ปีมาแล้ว จึงส่งตัวแทนกลุ่ม เดินทางไปสอบถามหน่วยงานภาครัฐ อาทิเช่น ศอ.บต. กอ.รมน. 4 ประมงจังหวัดและ ประมงอำเภอ รวมถึง ประมงชายฝั่ง ถึงมาตรการช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้าน ในพื้นที่ตันหยงป่าว กว่า 70 ลำ 400 คน ที่ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐนาน ถึง 3 ปี

นายดอเลาะ อาแว อายุ 48 ปี ประธานกลุ่มชุมชนอนุรักษ์ปกป้องทะเลชายฝั่งบ้านตันหยงเป่าว์ กล่าวว่า กว่า 3 ปีมาแล้ว ที่ การช่วยเหลือ จากหน่วยงานภาครัฐ ไม่ถึงชุมชน ทั้งที่ชาวบ้าน ทราบมาว่า มีงบประมาณ ลงมาในพื้นที่ จำนวนหลานล้าน แต่ ชาวบ้าน ในชุมชนไม่เคยได้รับ ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มไปสอบถาม ศอ.บต. กอ.รมน. 4 ประมงจังหวัดและ ประมงอำเภอ รวมถึง ประมงชายฝั่งและอีกหลายหน่วยที่เกี่ยวข้องกับอาชีพประมง กลับพบว่า มีเงินจำนวนหลายล้าน ที่ลงมาในพื้นที่ ตลอด 3 ปี แต่ชาวบ้านกลับไม่เห็นและได้ประโยชน์ จึงเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐ ตรวจสอบงบประมาณ ที่ลงมา ชาวบ้านในพื้นที่ กว่า 400 คนยืนยันไม่เห็นและสามารถใช้ประโยชน์ใด ๆเลย

กลุ่มชุมชนอนุรักษ์ปกป้องทะเลชายฝั่งบ้านตันหยงเป่าว์ เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งขึ้นหลังจาก ที่ เจ้าหน้าที่แนะนำ ให้ตั้งกลุ่มเพื่อง่ายต่อการของบประมาณ จึงทำให้เกิดกลุ่มนี้ จาก ฮูกมปากัด ของชุมชน ล่าสุด ได้ยื่นโครงการของบประมาณ จากรัฐ เพื่อ สร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ สร้างธนาคารปู เพื่อให้มีสวัสดิ์การภายในชุมชน และได้ขออุปกรณ์ในการซ่อมแซมเครื่องมือประมงพื้นบ้าน เช่น อวนปู อวนกุ้ง และอวนเอ็น จาก ศอ.บต. ชาวบ้านมีความหวังว่า งบประมาณ จะลงถึงชุมชนจริง ๆ เพื่อให้ชาวบ้านส่วนใหญ่สามารถได้ประโยชน์จริงๆ งบประมาณที่ลงมาไม่ได้ตกไปอยู่ในมือกลุ่มวิสาหกิจ ที่อ้างชุมชน

นอกจากนั้น สิ่งที่ชุมชน เรียกร้องมาตลอดคือ เขือนหิน กั้นระหว่าง หาด กับชุมชน ซึ่งตอนนี้ ระยะห่าง ระหว่างชุมชนกับหาด เพียง 1,500 เมตร ไม่อยากให้ บ้านตันหยงเป่าว์เหลือแค่ชื่อในตำนาน หากย้อนไปเมื่อ หลายสิบปีก่อน บ้านตันหยงเป่าว์ จะ อีก หลายชุมชน ที่ ถูกทะเลกัดเซาะจนชาวบ้านต้องอบพยบครอบครัวไปอยู่ข้างนอก ซึ่งเดิม คน บ้านตันหยงเป่าว์ มีอาชีพ ทำมะพร้าวแห้งขาย เพราะที่นี้มีส่วนมะพร้าว เยอะมาก 3 พันไร่ แต่ถูกกัดเซาะ อยู่กลางทะเลหมด ไม่เพียงแค่หมู่บ้าน ที่หายไป อาชีพของคนที่นี้ ส่วนหนึ่งก็หายไปด้วย

ซึ่งคนที่นี้ ทำอาชีพประมงพื้นบ้าน อวนปู อวนกุ้ง และอวนเอ็น ไม่มีประมงพื้นบ้านที่ แม้แต่ลำเดียว หาปลากุเล่า ส่วนกรณี ที่มี ข่าวว่า ปลากุเล่าตันหยงเป่าว์ นั้น ความจริงแล้ว ไม่ใช่ ปลาจากตันหยงเป่าว์และ ไม่ใช่ประมงที่ อยู่ในตันหยงเป่าว์ ทางกลุ่มวิสาหกิจ เขาไปเอาปลาที่ประมงปัตตานี ที่สายบุรี และล่าสุดทราบว่า รับมาจากสตูล ถ้าที่ใครบอกว่า ผลากุเล่า จากชาวบ้าน ตันหยงเป่าว์ แปลว่า ปลากุเล่าปลอม


นายมะแอ สามะ อายุ 78 ปี ชาวบ้านตันหยงเป่าว์ กล่าวว่า ขอให้หน่วยงานภาครัฐ ทุกหน่วยงาน รวมถึง นายกรัฐมนตรี ฟังพวกเรา สิ่งที่พวกเราเล่ามาเป็นความจริง 3 ปีแล้ว ที่ชาวบ้านไม่เคยได้รับประโยชน์จากการช่วยเหลือของภาครัฐ พวกเราไม่ได้ต้องการอะไร แค่ อยากขอความเป็นธรรม กับชาวบ้าน ตันหยงเป่าว์ ที่ต้องดูงบเข้ามาแต่ไม่ถึงชุมชน ชาวบ้านไม่มีใครได้ประโยชน์จากตรงนั้นเลย สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด เกิดจาก รัฐไม่ลงพื้นที่อ่านแต่รายงาน เราเชื่อว่า รัฐ ไม่เคยรู้ว่า งบประมาณที่จัดสรรลงมา ชุมชนไม่เคยได้ประโยชน์ แต่มันก็เกิดจากที่ รัฐไม่ลงพื้นที่ มาหาชาวบ้านจริงๆ ชาวประมงจริงๆ เราอยากขอโอกาส ให้ 400 คน ที่เสียโอกาส จากงบประมาณที่ลงมาหลายล้านบาท ขอยืนยันว่า ประมงพื้นบ้านตันหยงเป่าว์ไม่ได้ทำประมงปลากุเล่า 100 เปอร์เซ็นต์

นายยูกิ เปาะโก๊ะ อายุ 46 ปี ชาวประมงพื้นบ้าน ตันหยงเป่าว์ กล่าวว่า การที่เราไม่สามารถเข้าถึงโอกาส จากงบประมาณ ที่ลงมาในพื้นที่ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ถามว่า ชาวบ้านที่นี้ ต้องการพึ่งงบประมาณของรัฐ หรือยังไงถึงได้มารวมตัวแบบนี้ อยากบอกว่า เรารวมตัวทำดีๆมาตลอด ลงทุนร่วมกัน ทำซังเอง พัฒนา พื้นที่จากงบที่ออกทำประมงเอง ทำทุกอย่าง แต่ เมื่อมีงบประมาณลงมาในพื้นที่ เราไม่สามารถเข้าถึงได้ ก็ทำให้เราเสียโอกาสตรงนี้ เขามาอ้างว่าทำเพื่อชาวบ้าน แต่ชาวบ้านเสียโอกาส จะให้พวกเราทำยังไง ไปบอกรัฐๆบอกงบประมาณลงมาทุกปี แต่ละปีหลายล้าน แต่พอมาคุยภายในชุมชนไม่มีใครได้ประโยชน์จากงบลงมา แล้วจะให้เราทำยังไง ปัญหานี้ใครจะรับผิดชอบ ก็อยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้าใจ และ เห็นใจชาวบ้าน ให้โอกาส ชาวบ้านอย่างเป็นธรรมด้วย จัดสรรงบประมาณ ลงพื้นที่ ขอให้ กลุ่มพวกเราได้ประโยชน์บ้าง รัฐเองก็ไม่เคยลงมาคุยกับชาวบ้านเลย รัฐจึงไม่รู้ว่า ในหมู่บ้าน จริงๆ เป็นยังไง งบประมาณที่ลงมา ไปเทอยู่ตรงไหน อยากเรียกร้องทุกหน่วยงานลงมาคุยกับชาวบ้าน มารับฟังปัญหาของชาวบ้าน

ขอยืนยันว่า ปลากุเล่า ที่ตันหยงเป่าว์ ที่เป็นข่าว นั้น ปลาไม่ใช่ มาจากประมงพื้นบ้านตันหยงเป่าว์แน่นอน คนทำงาน ที่ทำปลาก็ไม่ใช่ ชาวบ้านส่วนใหญ่ มีสีคน ที่ทำงานแต่ละวัน แต่อ้างชาวบ้านตันหยงเป่าว์ทั้งหมด ชาวบ้านถูกรัฐทิ้งมาตลอด ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากที่รัฐไม่ลงมาคุยกับชาวบ้าน

ที่มาเพจ ทำให้เป็นข่าว

อ่านต่อ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *