เมื่อวันที่ 3 ม.ค.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการโพสข้อมูลส่งกันทางสังคมออนไลน์ ถึงการตั้งมาตราการทางสังคม ป้องกัน เยาวชน วัยรุ่น ชาย-หญิง ที่ไม่ใช่สามีภรรยากัน กระทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยการจับคู่แต่งงาน
ซึ่งข้อมูลดังกล่าว เป็นมาตราการของ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรยะหา จ.ยะลา โดยระบุว่า “”ชาย / หญิง ที่มิใช่สามีภรยา มีพฤติกรรมจับคู่กัน กระทำการใดๆ ลักษณะเชิงชู้สาวในที่สาธารณะหรือในที่ลับตาคน”
หากพบเห็นหรือจับได้ สถานีตำรวจภูธรยะหาและคณะกรรมการมัสยิด
จะดำเนินการ ตามมาตรการทางสังคม ยุติธรรมทางเลือก หรือ ฮูกมปากัต 4 ฝ่าย ดังนี้
1. นำส่งคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด เรียกผู้ปกครองเพื่อทำพิธีแต่งงานตามหลักศาสนาให้ถูกต้อง
2. ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย ในข้อหา “กระทำอนาจาร” หรือ “กระทำชำเรา” และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง”
โดยภายหลังมีการแชร์ และส่งต่อข้อมูลดังกล่าวในสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะเพจข่าวทางเฟสบุ๊ค ได้มีความคิดเห็นจากทางสังคม ตอบกลับ และตั้งคำถามกันเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ ถามถึงเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ และขัดต่อหลักกฏหมาย หรือ รัฐธรรมนูญ หรือไม่
จนล่าสุด นางสาวอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานกรรมการในคณะอนุกรรมการด้านสิทธิสตรีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เขียนบทความถึงกรณีดังกล่าวนี้ด้วย บนเฟสบุ๊คของตนเอง โดยมีใจความบางส่วนว่า ควรมีการตรวจสอบว่า #คำสั่งหรือนโยบายของผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรยะหาขัดหรืแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรืไม่ #เป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง และ #ชอบด้วยคำสั่งทางปกครองหรือไม่
และยังอ้างถึง กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดก พ.ศ. 2489 ซึ่งใช้ใน 4 จชต.เป็นกฎหมายที่ครอบคลุมเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องการสมรส การสิ้นสุดการสมรส และการจัดการทรัพย์มรดก แต่ไม่ได้ ให้อำนาจ จนท.
บุคคล หรือกลุ่มบุคคลใดในการบังคับให้หญิง หรือเด็กหญิงต้อง
แต่งงานโดยไม่สมัครใจ
ในบทความยังระบุอีกว่า การบังคับแต่งงานเพื่อรักษาเกียรติของครอบครัวหรือชุมชน หรือแม้กระทั่งการจัดการความต้องการทางเพศของเยาวชนด้วยการบังคับแต่งงาน เป็นอีกสถานการณ์ที่นกังวลเพราะจะทำให้ผู้หญิง / เด็กหญิงตกอยู่ในภาวะขมขื่นไปตลอดชีวิต มีหลายกรณีที่หลังจากถูกบังคับ
แต่งงานไม่นานเกิดการหย่ราง ประเทศมุสลิมหลายประเทศ รวมถึง
องค์การความร่วมมืออิสลาม (OC) เสนอว่าประเทศมสลิมต้องแก้ไข
โดยให้เด็กและเยาวชนมี โอกาสได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น และให้ทั่วถึง
มากขึ้น รวมถึงสร้างสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง ให้พ่อแม่สามารถมี
เวลาเอาใจใส่ครอบครัว กรณีครอบครัวใน จชต. พบว่าครอบครัวเป็นลักษณะ #ผัวเดียวหลายเมีย เนื่องจากชายมีภรรยาได้ 4 คน ทำให้ไม่มีเวลาดูแลลูกๆได้ทั่วถึ #การบังคับเด็กแต่งงานจึงไม่ใช่ทางออกของ
ปัญหาแต่กลับจะสร้างปัญหามากขึ้น
ขณะเดียวกัน ผู้ที่แสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์ ก็มีทั้งที่เห็นด้วยกับมาตราการดังกล่าว หรือบ้างก็อ้างว่า อาจจะเป็นเพียงมาตราการที่ต้องการปรามและป้องกัน แต่คงไม่ถึงกับการจับคู่แต่งงานกันจริง
นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่แสดวความคิดเห็นบางรายระบุว่า มาตราการดังกล่าว อาจจะเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มมิจฉาชีพ เอาไปเป็นช่องทางทำมาหากินด้วยการ แอบอ้าง ข่มขู่ เรียกทรัพย์สิน คู่หนุ่มสาวที่อาจจะตกเป็นเหยื่อ
ขณะที่ทางด้าน พ.ต.อ.สายูตี กาเตะ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรยะหา จ.ยะลา ได้โพสภาพ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ยะหา ลงเฟสบุ๊ค หลังมีมาตราการดังกล่าว โดยระบุว่า “วัยรุ่น หนุ่มสาว มุสลีมีน มุสลีมะห์ หายหมดแล้วครับ…กับมาตราการทางสังคม สภ.ยะหาและ ชมรมอีหม่ามประจำอำเภอยะหา (อยู่บ้านกันนะครับปลอดภัยที่สุด
ที่มา – @ชายแดนใต้