เป็นเรื่องที่กำลังถกเถียงกันในสังคมขณะนี้
โดยเฉพาะพี่น้องที่ร่วมโครงการน่ารักๆของทางภาครัฐ
“คน ละ ครึ่ง”
(เราจ่าย 150 บาท รัฐออกให้อีก 150 บาท : 300 บาท )
ตลอดโครงการในจำนวนเงิน 3,000 บาท
ดังนั้นถือว่าเราต้องลงทุนออกเอง 3,000 บาท จึงจะได้ 6,000 บาท ตามที่รัฐออกให้ครึ่งนึง
จะมาถอดบทเรียนคร่าวๆให้พี่น้องได้พิจารณาความถูกต้อง ตรงไปตรงมากันครับ
(จากคณาจารย์ และนักวิชาการศาสนา)
มาดูวัตถุประสงค์ของโครงการ ” คนละครึ่ง ” คร่าวๆ
>> เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจนถึงระดับฐานราก โดยการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ในส่วนของค่าอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าทั่วไป อันจะเป็นการเพิ่มอุปสงค์ การบริโภคภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการรายย่อย โดยเฉพาะกลุ่ม หาบเร่ แผงลอย ให้มีรายได้จากการขายสินค้า 50% ต่อ 50% <<
ดังนั้นโครงการบอกถึงเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ชัดเจนมากๆ กล่าวคือ เราต้องลงทุนออกเงินเองครึ่งนึง
– ออกเงินเราเองครึ่งนึงต่อครั้ง ต้องผ่านระบบแอปที่รัฐกำหนด (รัฐจึงจะออกให้อีกครึ่งตามที่เราใช้ไป) โดยครั้งละไม่เกิน 300 บาท
– ต้องอุดหนุนร้านค้าที่ร่วมโครงการ โดยต้องซื้อเป็นสินค้า
เงื่อนไขอะไรบ้างที่ทำได้
1. เติมเงินเข้าระบบ แล้วไปแสกนซื้อสินค้าได้เลย โดยครั้งนึงไม่เกิน 150 บาท (ได้ 300 บาท)
2. ต้องซื้อสินค้าเท่านั้น อาหาร ขนม น้ำ ของใช้ต่างๆ ที่ร้านค้าร่วมโครงการ
เรามาดูว่าอะไรที่ทำไม่ได้ และเป็นประเด็นกันอยู่ในสังคม บางร้านฉวยโอกาสในโครงการนี้ หรือประชาชนไม่ซื่อกับโครงการนี้
กรณีดังต่อไปนี้ คือ ทำไม่ได้น๊ะจ๊ะ บาป ฮะรอม
1. ให้ร้านค้าโอนให้เราก่อน 150 บาท (โดยที่เราไม่ลงทุนเงินเราเลย) แล้วให้เจ้าของร้านแสกนได้รับเงินคืน และเอาสินค้าหรือเงินสดในจำนวนเงิน 150 บาท อันนี้ทำไม่ได้ บาป !!
2. เราโอนเงิน(อันนี้เราลงทุนเอง) ให้เจ้าของร้าน 150 บาท แต่กลับเอาสินค้า 150 บาท ส่วนอีก 150 บาท เอาเป็นเงินสด อันนี้ทำไม่ได้ บาป !!
(ตามวัตถุประสงค์โครงการ คือต้องได้สินค้าเท่านั้นน่ะจ๊ะ)
3. อันนี้สำคัญ และเสี่ยงเป็นดอกเบี้ย !! ควรห่างไกลให้มากที่สุด
โอนเงินให้เจ้าของร้าน 150 บาท (คือได้ 300 บาท) แต่เจ้าของหักเงินเราไปเฉยเลย 20 บาท ให้เป็นเงินสด 280 บาท (กรณีต้องการเงินสด) อันนี้ทำไม่ได้ บาป !!
เพราะอะไรล่ะ? อย่าลืมนะจ๊ะทางร้านค้าที่ร่วมโครงการไม่ใช่เจ้าของเงิน ดังนั้น จะบอกว่าเป็นข้อตกลงของเรากับทางร้านค้าที่ยินยอมต่อกันแล้วไม่ได้นะ จะทำแบบนี้ได้ก็ต่อเมื่อไปตกลงกับทางรัฐเองเลยครับ อันนี้อ่ะได้ !!
ข้อ 1 – 3 ทั้งเจ้าของร้าน(ที่เข้าร่วมโครงการ) และพี่น้องได้สิทธิ์โครงการนี้ บาปทั้งคู่นะจ๊ะ
4. กรณีทำเหมือนข้อ 1 ทำได้นะ แต่ต้องเป็นกรณียืมใครก็ได้ หรือยืมเจ้าของร้าน แต่สุดท้ายเราต้องจ่ายคืน (สำหรับพี่น้องที่ลำบาก ไม่มีเงินสด) ถือเป็นกรณีการยืมต่อกัน อย่าลืมจ่ายคืนด้วยน๊ะจ๊ะ
หากพูดกันให้เห็นภาพง่ายๆเลย คือ ผู้ที่ได้รับสิทธิ์คนละครึ่งในครั้งนี้ รัฐไม่ได้บังคับใครให้เข้าร่วมโครงการ แต่ประชาชนเองต่างหากที่สมัครจะเข้าร่วมโครงการนี้เอง ดังนั้นก่อนที่เราจะกดตกลงในระบบ เชื่อว่าทุกคนต้องยอมรับในทุกเงื่อนไขที่(รัฐ)โครงการกำหนดมาแล้วใช่ไหม นั่นแหละคือทั้งหมดของคำตอบว่าทำไมเราถึงทำแบบที่กล่าวมาข้างบนไม่ได้น๊ะจ๊ะ
สรุป โครงการนี้ดี ทำตามตรงไปตรงมาดีสุดครับ รัฐก็แอบใจดีแล้ว เราก็เป็นผู้ใช้ที่น่ารักได้เช่นกัน เตือนฉันเตือนเธอเนอะ
ที่มาข้อมูล Fjass Madakakul