ยะลาเอาจริง ไม่สวมหน้ากากอนามัย ปรับ 2 หมื่น บาท

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดยะลา เตือนประชาชนไม่ใส่หน้ากากต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้มีการออกคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดยะลา ฉบับที่ 98/2563 เรื่องมาตรการในการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กำหนดให้ภาคส่วนต่าง ๆ ดำเนินการ ดังนี้

1.ให้ทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดพื้นผิวและอุปกรณ์ที่มีการสัมผัสบ่อย เว้นระยะห่าง หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับบุคคลอื่น หลีกเลียงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก ติดตั้งและสแกน Application “ไทยชนะ” หรือลงทะเบียนในการเข้าออกสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นการปกป้องดูแลสุขอนามัย ของประชาชนจากการพรระบาดของโรคฯ และหากผู้ใดไม่สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเมื่อออกนอกเคหสถานมีความผิตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติโรดติดต่อ พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

2.สถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานบันเทิง และสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการร้านอาหาร เข้มงวดในการตรวจคัดกรองผู้ที่เข้าไปใช้บริการ กำหนดจุดคัดกรองโดยจัดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายจัดให้มีบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล การกำหนมาตรการให้ผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการในสถาน สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา เว้นระยะห่าง พร้อมทั้งติดตั้งและสแกน Application “ไทยชนะ” หรือลงทะเบียนในการเข้า-ออก และทำความสะอาดสถานที่ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด และกำหนดให้ปิดบริการไม่เกินเวลา 24.00 น.

3.ห้ามแรงานต่างด้าวเคลื่อนย้ายเข้า-ออก พื้นที่จังหวัดยะลา

4.หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีการรวมคนเป็นจำนวนมากอันก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค หากมีความจำเป็นที่จะต้องจัดกิจกรรมดังกล่าว ทั้งภาคราชการและภาคเอกชน ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยให้พิจารณาลดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีมาตรการลดความหนาแน่นของผู้เข้ร่วมกิจกรรม ผู้จัดกิจกรรมต้องกำหนดมาตรการควบคุมมีให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอยู่รวมกันอย่างอัดยัดเยียด และจะต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และให้ศูนย์ปฏิบัติกาควบคุมโรค กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรการ ดังนี้

1) ให้มีระบบการคัดกรองคณะผู้จัดงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรม
2) ผู้จัดและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
3) จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิกรรม ตามเกณฑ์ ขนาดพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม อย่างน้อย 4 ตารางเมตรต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน จัดทำสัญลักษณ์เพื่อการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลร่วมกิจกรรมอย่างเหมาะสม
4) การชมกีฬากลางแจ้งจำกัดผู้ชมในสนามกีฬาร้อยละ 50 ของความจุสนามการชมกีฬาในร่ม (อาคารปิด) จำกัดผู้ชมในสนามกีฬาร้อยละ 30 ของความจุสนาม
5) จัดให้มีแอลกอฮอล์ 70%

6) ทำความสะอาดพื้นที่ หรือบริเวณที่มีการสัมผัสร่วมกันบ่อย ๆ
7) จัดให้มีห้องส้วมที่เพียงพอและทำความสะอาดอย่างน้อย ทุก 2 ชั่วโมง
8) จัดให้มีถังขยะที่มีฝาบิดไว้บริเวณภายในสถานที่อย่างเพียงพอ เก็บรวบรวมขยะและส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง
9) กรณีจัดกิจกรมในอาคารจัดให้มีการระบายอากาศที่ดี

10) กรณีมีการจัดบริการอาหาร ควรจัดลักษณะที่ลดการสัมผัสอุปกรณ์ที่ใช้รวมกัน เช่น แบบกล่อง (Box Set) อาหารกลางวันในรูปแบบอาหารชุดเดี่ยว (Course Menu) หากมีการจัดกิกรรมที่มีการรมคนตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ให้ขออนุญาตต่อหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ หรือเทศบาลนคร/เทศบาลเมือง โดยให้หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคใช้มาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หากเห็นว่าผู้ร่วมกิจกรรมมีจำนวนสูงมาก หรืออาจเกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ให้หารือคณะกรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดยะลา

5.ตลาด ตลาดนัด และตลาดที่มิได้เปิดให้มีการค้าขายเป็นประจำทุกวัน ห้างสรรพสินค้าศูนย์การค้า ในพื้นที่จังหวัดยะลา มีมาตรการควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฯตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเข้มงวด ให้ผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา มีจุดคัดกรองเข้า-ออก สถานที่นั้น ๆ โดยจัดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย บริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล พร้อมทั้งติดตั้งและสแกน Application “ไทยชนะ” หรือจัดทำทะเบียนในการเข้า-ออก

6.ลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในระบบขนส่งสาธารณะ เช่น มีการจัดจุดบริการแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไว้สำหรับผู้โดยสารก่อนขึ้นรถ การคัดกรองวัดอุณหภูมิผู้โดยสาร ให้พนักงานและผู้โดยสารสวมใส่หน้ากกอนามัย หรือหน้ากากผ้า ทำความสะอาดพื้นผิว ลดการแออัดของผู้โดยสาร รวมทั้งให้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลผู้โดยสารที่ใช้บริการรถขนส่งสาธารณะ หากสงสัยว่าเป็นแรงงานต่างด้าว หรือบุคคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ให้ประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมโรค

7.พื้นที่วัด มัสยิด หรือศาสนสถานอื่น ๆ หรือสถานที่จัดพิธีกรรมทางศาสนา ให้หลีกเลี่ยงการจัดกิกรรมที่มีการรวมตัวของผู้ประกอบศาสนกิจเป็นจำนวนมาก โดยให้ถือปฏิบัติตามมาตรการที่สาธารณสุขกำหนด ประกอบกับแนวทางปฏิบัติตามประกาศของศาสนานั้น ๆ อย่างเคร่งครัด

8.สถานที่ท่องเที่ยวหรือสถานที่ที่มีผู้คนแวะชมเป็นจำนวนมาก ให้ผู้รับผิดชอบสถานที่ดังกล่าว ควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรการที่สาธารณสุขกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา

9.ให้ผู้จัดการธนาคาร ควบคุมดูแลผู้รับบริการ ให้ปฏิบัติตามมาตรการของสารารณสุขอย่างเคร่งครัด จัดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย บริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล เว้นระยะห่าง พร้อมทั้งติดตั้งและ สแกน Application “ไทยชนะ” หรือจัดทำแบบลงทะเบียนในการเข้า-ออก

10.ให้นายสถานีรถไฟ จัดให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล การคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิ ทำความสะอาคนผิวที่มีการสัมผัสบ่อย และการปฏิบัติตามมาตรการการเว้นระยะห่าง ใช้ความระมัดระวังในการดูแลผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟ หากสงสัยว่าเป็นแรงงานต่างด้าว หรือบุคลที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ให้ประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมโรค

11. ให้หน่วยงาน ส่วนราชการ ภาคเอกชน ทุกแห่ง ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ บุคลากรในสังกัดหรือประขาชนในพื้นที่ ที่มีความสัมพันธ์ หรือผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง หรือพบบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง หรือพบผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่

12.ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน อาสาสมัคร ในพื้นที่ รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ สำรวจ ตรวจสอบบุคลที่เดินทางเข้า-ออก ภายในหมู่บ้าน/ชุมขน และบุคคลที่เคยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง หากพบบุคคลดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการ ให้คำแนะนำ หรือดำเนินการตามมาตรการที่สาธารณสุขกำหนด เพื่อป้องกันการแพระบาดของโรคฯ

13.ให้มีการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจจุดสกัด เส้นทางพื้นที่รอยต่อจังหวัด เพื่อตรวจสอบบุคคลยานพาหนะให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยการบูรณาการกำลังร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้ล่าช้าจะก่อให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรง และส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 โดยผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดยะลา มีความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558

ที่มา เพจ สวท.ยะลา กรมประชาสัมพันธ์

อ่านต่อ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *