NASA เปรียบเทียบภาพ ชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกว่าเป็นอย่างไร

ภาพเปรียบเทียบจาก NASA เพื่อชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แท้จริงในจุดต่างๆ ของโลกว่าเป็นอย่างไร ทั้งสภาพภูมิอากาศ แผ่นน้ำแข็ง และพายุทวีความรุนแรงมากขึ้น สถานที่ต่างๆ ประสบปัญหาน้ำท่วมมากขึ้นไฟป่าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ความแห้งแล้งรุนแรง ฯลฯทั้งนี้ NASA ได้ใช้เทคโนโลยีอวกาศเพื่อค้นหาสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และเปิดตัวเว็บไซต์ Images Of Change เก็บภาพและข้อมูลก่อนหลังของสถานที่ต่างๆ บนโลกเพื่อเป็นการตอกย้ำว่าโลกร้อนนั้นไม่ใช่แค่มีอยู่จริง แต่มีผลกระทบให้เห็นกันจะจะทุกพื้นที่ทั่วโลก โดยได้ยกตัวอย่างมาเพียง 10 ภาพ

ในภาพได้เปรียบเทียบค่าต่ำสุดในปี 1984 กับปี 2012 ที่มีแนวโน้มลดลงในระยะยาว จากการสูญเสียน้ำแข็งในทะเลประมาณ 12% ต่อทศวรรษนับตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1970 ซึ่ง โจอี้โคมิโซ นักวิทยาศาสตร์ของ NASA กล่าวว่า เป็นไปได้มากที่น้ำแข็งในทะเลฤดูร้อนของอาร์กติกจะหายไปอย่างสมบูรณ์ภายในศตวรรษนี้

ทะเลอารัลในเอเชียกลางหดตัวลง
ทะเลอารัลเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก หลังการสร้างเขื่อนในปี 2005 ทำให้แม่น้ำแยกออกเป็นด้านตะวันออกและตะวันตก ซึ่งภาพถ่ายดาวเทียมเปรียบเทียบปี 2016 และ 2017 ให้เห็นว่าทะเลทางตอนเหนือมีระดับน้ำมากขึ้นในขณะที่ทะเลทางใต้อยู่ในสภาพแห้งแล้ง รวมทั้งทำให้ฤดูหนาวของภูมิภาคนี้หนาวเย็นลงและฤดูร้อนจะร้อนและแห้งกว่า

ธารน้ำแข็งที่ลดงในอุทยานแห่งชาติรัฐอะแลสกา
ภาพถ่ายปี 1941 แสดงให้เห็นถึงด้านล่างของธารน้ำแข็ง Muir และธารน้ำแข็ง Riggs ซึ่งอยู่ในอุทยานแห่งชาติ Glacier Bay ในรัฐอะแลสกา สหรัฐอเมริกา โดยภาพถ่ายปี 2004 Muir ได้ถอยห่างออกไปประมาณ 7 กิโลเมตร หรือแสดงถึงการลดลงของธารน้ำแข็งนั่นเอง

ภัยแล้งในทะเลสาบเพาเวลรัฐแอริโซนาและยูทาห์
ความแห้งแล้งที่ยืดเยื้อทำให้ระดับน้ำของทะเลสาบเพาเวลลดลงอย่างมาก ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าทางตอนเหนือของทะเลสาบที่ทอดตัวจากต้นน้ำแอริโซนาไปยังทางตอนใต้ของยูทาห์ ในภาพปี 1999 แสดงระดับน้ำใกล้เต็มความจุภายในเดือนพฤษภาคม 2014 ทะเลสาบลดลงเหลือ 42% ของความจุ ซึ่งเป็นวิกฤตภัยแล้งที่รุนแรง

น้ำตกหิมะในขอบทะเลทรายซาฮาราหายไป
หิมะตกลงมาที่ขอบทะเลทรายซาฮาราทางตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกาในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2016 ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากสำหรับพื้นที่นี้ เซ็นเซอร์ Enhanced Thematic Mapper Plus (ETM +) ของดาวเทียม Landsat 7 จับภาพด้านซ้ายที่เป็นสีขาวเหนือแนวนอนสีคาราเมลทางตะวันตกเฉียงใต้ของชุมชน Ain Sefra ในแอลจีเรีย เมืองที่บางครั้งเรียกว่าประตูสู่ทะเลทราย แต่มีหิมะตก ซึ่งภาพที่ถ่ายโดย Landsat 8 พบว่าชุมชนแห่งนี้มีหิมะครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1979

ความแห้งแล้งของทะเลสาบโปโปในโบลิเวีย
ทะเลสาบโปโปซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโบลิเวียและเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของชุมชนในท้องถิ่นได้แห้งเหือดลงอีกครั้ง เนื่องจากความแห้งแล้งและการผันน้ำไปใช้ในการทำเหมืองและการเกษตร ครั้งสุดท้ายที่แห้งคือในปี 1994 หลังจากนั้นก็ใช้เวลาหลายปีกว่าที่น้ำจะกลับคืนมาและกว่าที่ระบบนิเวศจะฟื้นตัว ซึ่งภาพได้เปรียบเทียบระดับน้ำระหว่างปี 2013 และ2016

การพังทลายของชายหาดในรัฐเท็กซัส
ภาพเหล่านี้แสดงพื้นที่ทางตอนใต้ของเมืองฟรีพอร์ต รัฐเท็กซัส ซึ่งมีการสูญเสียชายหาดในอัตราเกือบ 15 เมตรต่อปี ความยาว 17 กิโลเมตร ถือเป็นหนึ่งในการกัดเซาะที่ใหญ่ที่สุด ทีมนักวิจัยจากเนเธอร์แลนด์ใช้ข้อมูลดาวเทียม Landsat ติดตามการเปลี่ยนแปลงของหาดทรายทั่วโลกในช่วงปี 1984 ถึง 2016 พบว่า 24% ของชายหาดกัดเซาะมากกว่า 0.5 เมตรต่อปี

ธารน้ำแข็งโคลัมเบียเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด
ธารน้ำแข็งโคลัมเบียในมลรัฐอะแลสกาที่ไหลเคลื่อนผ่านเทือกเขา Chugach เข้าสู่อ่าว Prince William Sound เป็นธารน้ำแข็งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก การหดตัวอย่างรวดเร็วของธารน้ำแข็งก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลก ซึ่งในภาพได้เปรียบเทียบระหว่างปี 1986 กับ 2014

น้ำท่วมแม่น้ำเจมส์ในเซาท์ดาโคตา
ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจมส์ทางตะวันออกของเซาท์ดาโคตา ภาพปี 2015 แสดงให้เห็นถึงแม่น้ำในฤดูใบไม้ผลิปกติ ในขณะที่ภาพปี 2020 มีน้ำล้นตลิ่ง และส่วนอื่นๆ ของแม่น้ำอยู่ในระดับน้ำท่วมตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี 2019

ฝนตกหนักน้ำท่วมเปรู
ฝนเริ่มตกหนักตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม 2017 ได้สร้างความเสียหายให้กับเปรูเป็นอย่างมาก จากรายงานระบุว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 70,000 คน และอีกกว่า 60 คนเสียชีวิตจากน้ำท่วมและดินโคลนถล่ม มีรายงานว่าถนนประมาณ 7,500 กม. และสะพาน 509 แห่งได้รับความเสียหาย ซึ่งในภาพได้เปรียบเทียบกับปี 2016 จะเห็นสีที่แตกต่างกัน

ขอบคุณที่มา IGreen

อ่านต่อ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *